ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นหลักการที่กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pay Principal) โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดอัตราภาษีต่อหน่วยการปล่อย (ต่อ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า) ซึ่งอาจเก็บจากการใช้ประโยชน์ เช่น การเก็บภาษีตามปริมาณคาร์บอนในน้ำมันเชื้อเพลิง (Carbon Tax) หรือ เก็บจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของแหล่งปล่อย (Emission Tax) ก็ได้
อัตราภาษีนี้เป็นหัวใจสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่จะกำหนดว่าสังคมจะสามารถบรรลุจุดที่มีต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุดได้หรือไม่ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราภาษีที่เหมาะสม คือระดับที่ทำให้ต้นทุนการบำบัดก๊าซเรือนกระจกส่วนเพิ่ม (Marginal abatement cost) เท่ากับ ต้นทุนความเสียหายของสังคมส่วนเพิ่ม (Marginal damage cost) โดยภาษีคาร์บอนมีข้อดี คือ ช่วยให้รัฐบาลมีรายได้ ลดการบิดเบือนของการจัดสรรทรัพยากร กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงเทคโนโลยี มีความยืดหยุ่นในการปรับอัตราภาษี แต่ก็มีข้อเสียคือ ผู้กำหนดนโยบายจะต้องทราบข้อมูลที่ชัดเจนทั้งต้นทุนการลด ต้นทุนความเสียหาย ต้องทราบความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานในตลาด เป็นต้น
วิธีการคำนวณภาษีคาร์บอน
คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยน ซื้อ-ขาย หรือ นำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น รายงานเปิดเผยต่อสารธารณะในการดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ อีเว้นท์ หรือบุคคล เป็นต้น
คาร์บอนเครดิตมีหลายประเภทตามกลไกลดก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการ ปัจจุบันกลไกคาร์บอนเครดิตแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
อย่างไรก็ตาม กลไกคาร์บอนเครดิตเป็นการดำเนินการโดยความสมัครใจ ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งในตลาดคาร์บอนภาคบังคับและตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ โดยเป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขของภาครัฐ หรือ เจ้าของโครงการชดเชยคาร์บอน (Offsetting Scheme) นั้นๆ