การประเมินวัฏจักรชีวิตและคาร์บอนฟุตพริ้นท์
(LCA & Carbon Footprint)

การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA)

การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการประเมินเกี่ยวกับผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต โดยตรวจสอบทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบหลัก กระบวนการผลิต การประกอบ การขนส่ง การนําไปใช้ ตลอดจนการกำจัด หรือการนํามาใช้ใหม่ (Recycle) การประเมินวัฏจักรชีวิตจึงเป็นตัวช่วยเพิ่มความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรตลอดวัฏจักรชีวิต เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น SCOPE ดังนี้

SCOPE I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

SCOPE II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น

SCOPE III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรทำโดยอ้างอิงกรอบดำเนินงานและขั้นตอนตามแนวทาง การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ISO 14064

เป้าหมายการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

ประโยชน์ของการทำ CFO

ภาคธุรกิจ

ภาครัฐ

ใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน โดยวัดในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์หรือหน่วยหน้าที่การทำงาน

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ทำโดยอ้างอิงกรอบดำเนินงานและขั้นตอนตาม แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ISO 14067

เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจชื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลกเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

เป้าหมายการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์

คาร์บอนฟุตพริ้นท์สําหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Product)

ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ส่วนประกอบ บรรจุภัณฑ์ และวัสดุที่มีการหมุนเวียนตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่านอกจากผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ส่วนประกอบ บรรจุภัณฑ์ และวัสดุมีการผลิตจากการหมุนเวียนทรัพยากรแล้วยังมีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. รับรองด้วย

คาร์บอนฟุตพริ้นท์อีเว้นท์ (Carbon Footprint of Event: CF-Event)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับกิจกรรมการจัดอีเว้นท์ หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการจัดอีเว้นท์ ซึ่งพิจารณาจากการจัดหาวัตถุดิบ การให้บริการจัดงาน และการจัดการของเสีย ตลอดจน การเดินทางและพักค้างของผู้มาร่วมงาน ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq) ต่ออีเว้นท์

อ้างอิงกรอบดำเนินงานและขั้นตอนตามแนวทางการประเมินคาร์บอนผลิตภัณฑ์ ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ISO 14064

เป้าหมายการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์อีเว้นท์

อ้างอิง

  • https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/?lang=th