การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Resilience and Adaptation)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนรูปแบบการกระจายของเชื้อโรคและพาหะนำโรค โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีเทน (CH4) ที่มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญ

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปรากฏเห็นชัดมากขึ้น ซึ่ง IPCC (2021) พบว่า สภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศมีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยครั้งขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยหรือตามสภาวะโลกร้อน หากไม่ดำเนินการเพื่อรับมือและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทั้งในด้านความเสียหายในหลายมิติรวมถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตรกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน (resilience) ให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยควรดำเนินมาตรการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดำเนินการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีรูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งมาตรการเชิงโครงสร้าง การลงทุนในเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เงินทุนในการสนับสนุน ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีเครื่องมือทางการเงินหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาสนับสนุนโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

IPCC (2021) พบว่าสภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศ ทั้งอุณหภูมิสุดขั้ว ภัยแล้งรุนแรง สภาวะฝนสุดขั้ว และพายุหมุนเขตร้อนรุนแรง มีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยครั้งขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยหรือตามสภาวะโลกร้อน และหากไม่ดำเนินการเพื่อรับมือและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ผู้คนทั่วโลกกว่า 216 ล้านคนอาจต้องโยกย้ายถิ่นฐานภายในประเทศภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดทั้งในพื้นที่รับและส่งผู้อพยพ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เคยประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือประมงที่อาจย้ายเข้าเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้พื้นที่เมืองต้องรองรับประชากรมากเกินศักยภาพที่มี โดยมี 6 ภูมิภาคทั่วโลก ที่เป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มสูง (hotspot) ที่จะประสบปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานภายในประเทศที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภาพการคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบภูมิอากาศ

หากพิจารณาจากดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลก (Global Climate Risk Index) พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก และงานศึกษาของ Eckstein et al. (2021) พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยมูลค่า 7,719 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของ GDP ในช่วงปี ค.ศ. 2000–2019 โดยส่งผลกระทบต่อภาคท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร จากงานศึกษาของ Thampanishvong et al. (2021) พบว่า ภาคเศรษฐกิจเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันและไม่เท่าเทียมกัน ดังนี้

การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะลดความเปราะบางของระบบทางชีววิทยาและสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างจะฉับพลันและชดเชยกับผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน

อย่างไรก็ดี การปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีรูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งการปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยี การปรับรูปแบบการจัดการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับโครงสร้างทางกายภาพ การจัดทำฐานข้อมูลและการแจ้งเตือนภัย และการปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย เป็นต้น นอกจากนี้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจมีลักษณะของการปรับตั โดยทั่วไปซึ่งสามารถปรับใช้ได้ในหลายสาขา (cross cutting) หรือเป็นลักษณะของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละสาขา

ตัวอย่างแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สามารถใช้ได้ในหลายสาขา

ตัวอย่างแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรายสาขา

ภาคการเกษตร

ภาคท่องเที่ยว

ภาคอุตสาหกรรม

ตัวอย่างแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ

  1. 1. การฟื้นฟูพื้นที่ป่า
  2. 2. การป้องกันเขตชายฝั่งทะเล
  3. 3. การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ
  4. 4. ระบบวนเกษตร
  5. 5. การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองและการป้องกันดิน

ดังนั้น แนวทางการรับมือวิกฤติสภาพภูมิอากาศนั้นจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปอย่างเร่งด่วน ทั้งการเพิ่มป่าไม้และพื้นที่สีเขียวเพื่อการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ การส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง

  1. 1. https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-13-การรับมือก/
  2. 2. https://www.pier.or.th/abridged/2023/12/
  3. 3. Attavanich, W. (2017). Effect of Climate Change on Thailand’s Agriculture: New Results (Techreport No. 25/2017). Department of Economics, Kasetsart University.
  4. 4. Biagini, B., Bierbaum, R., Stults, M., Dobardzic, S., & McNeeley, S. (2014). A typology of adaptation actions: A global look at climate adaptation actions financed through the Global Environment Facility. Global Environmental Change, 25, 97–108.
  5. 5. Clement, V., Rigaud, K. K., de Sherbinin, A., Jones, B., Adamo, S., Schewe, J., Sadiq, N., & Shabahat, E. (2021). Groundswell Part 2: Acting on Internal Climate Migration. World Bank.
  6. 6. Eckstein, D., Künzel, V., & Schäfer, L. (2021). Global Climate Risk Index 2021. Who Suffers Most from Extreme Weather Events, 2000-2019?. German Watch.
  7. 7. IPCC. (2021). Climate Change 2021: The Physical Science Basis (V. Masson-Delmotte, P. Zhai, A. Pirani, S. L. Connors, C. Péan, S. Berger, N. Caud, Y. Chen, L. Goldfarb, M. I. Gomis, M. Huang, K. Leitzell, E. Lonnoy, J. B. R. Matthews, T. K. Maycock, T. Waterfield, O. Yelekçi, R. Yu, & B. Zhou, Eds.). Cambridge University Press.
  8. 8. Thampanishvong, K., Attavanich, W., Limmeechokchai, B., & Limsakul, A. (2021). การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของไทย (aBRIDGEd No. 15/2021). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.